...ภายหลังการตั้งทีมทำงาน...
#ฝึกปรือเครื่องมือทักษะวิศวกรสังคม [กระบวนการที่สาม] [รศ.ดร.ภูสิทธ์ ภูคำชะโนด]
...นักศึกษาวิศวกรสังคมในโครงการ #บ่มเพาะนักศึกษาวิศวกรสังคมโดยมีชุมชนเป็นฐาน เริ่มดำเนินการเก็บข้อมูลกับผู้นำชุมชนและผู้สร้างผลิตภัณฑ์ในชุมชน... #สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ #CommunityCoaching โดยใช้เครื่องมือที่ตนเองมีติดตัว อาทิ สมุด กระดาษ ปากกา ดินสอ โทรศัพท์มือถือ (ถ่ายและอัดเสียง) แท็บเล็ต (เขียน-วาด) ทำ "การบันทึกข้อมูล อาทิ พฤติกรรม วันเวลา ปีที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนา กระบวนการทำ แนวคิดจากชุมชน ปัญหา อุปสรรค สาเหตุ ผลกระทบ คนที่เกี่ยวข้อง สิ่งที่ปรารถนาในอนาคต เก็บข้อมูลอย่างละเอียดให้มากที่สุด" ที่เป็นข้อมูลสำคัญพื้นฐาน เพื่อนำมาวิเคราะห์ (Analyze) เขียนลงในเครื่องมือทั้ง 5 เครื่องมือพื้นฐาน (ฝึกปรือ) ได้แก่ ฟ้าประทาน นาฬิกาชีวิต ไทม์ไลน์พัฒนาการ ไทม์ไลน์กระบวนการ MIC model>innovation [process or products innovation] ฝึกให้ทำจนชินจะทำให้นักศึกษาเกิดทักษะทั้ง 4 ดังนี้
1) ทักษะการคิดวิเคราะห์เชิงเหตุ - ผล (ตัดอารมณ์ความรู้สึกออกให้เหลือเพียงเหตุผล เมื่อมีผลย่อมมีเหตุ เมื่อเกิดปัญหาย่อมต้นค้นหาสาเหตุให้เจอ แม้มี 1 ปัญหาอาจมาจากหลายสาเหตุก็เป็นได้ แล้วดับที่เหตุ ผลที่เป็นปัญหาจะดับลงด้วย)
2) ทักษะการสื่อสาร นักศึกษามีข้อมูลและมาจากหลายศาสตร์ย่อมมีโอกาสได้ใช้พื้นที่กลุ่ม/ทีม "คุยกัน สนทนากัน ปรึกษากัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ข้อมูลระหว่างกัน" และยังแลกเปลี่ยนข้อมูลข้ามกลุ่ม/ทีม เพื่อให้เกิด "การสื่อสารข้อมูลสำคัญให้หนักแน่นและแม่นยำ" ยิ่งขึ้น นอกจากได้ข้อมูลยังรู้จักมิตรภาพที่ดี "การสื่อสารจย่อมนำมาซึ่งความสำเร็จ" การที่นักศึกษามีการสื่อสารบ่อย ๆ จะได้รู้จักใช้ทั้งวจนภาษา และอวจนภาษา ให้ดี จะทำให้เราได้ทักษะใหม่เพิ่มขึ้น คือ ทักษะการเรียนรู้สังคม (Social Learning Skill) ซึ่งจำเป็นในยุคปัจจุบันด้วย
3) ทักษะการประสานงาน มักเกิดพร้อมกับการสื่อสาร ความสำเร็จในการทำงานกับกลุ่ม/ทีม/ชุมชน การรู้จักประสานงานให้เป็นจะทำให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง และจะได้รู้จักกาลเทศะ ช่วงเวลา จังหวัดที่เหมาะสมในการเข้าพื้นที่ ความสำเร็จในงานจะตามมา ...หากกลุ่ม/ทีมเรามีนักประสานงานที่ดี ความสำเร็จเห็นแล้วครึ่งทาง...
4) ทักษะนวัตกรชุมชน เมื่อวิศวกรสังคมลงพื้นที่พัฒนาชุมชนจากโจทย์ของชุมชน..ชุมชนย่อมคาดหวังจากวิศวกรสังคมให้เกิด "กระบวนการใหม่ หรือ ผลิตภัณฑ์ใหม่" หรือ แนวคิดมโนทัศน์กระบวนทัศน์ใหม่ ๆ จะนำทำให้ชุมชนเกิดการคิดร่วมกัน (Co-creation) สร้างแบบ หรือต้นแบบของชุมชน (Community Prototype) ตามศักยภาพชุมชน สร้างคนในชุมชนเป็นผู้ผลิตความคิดใหม่ บูรณาการภูมิปัญญากับวิชาการจนเกิดนักนวัตกรชุมชนเป็นกลไกในการพัฒนาที่ยั่งยืนให้พื้นที่ต่อไป
...การปฏิบัติการครั้งนี้เกิดผังภาพตามเครื่องมือทั้ง 5 และนักศึกษาได้ทำการนำเสนอเพื่อสรุปผล...นักศึกษาต้องลงมือปฏิบัติด้วยตนเองทุกขั้นตอน...ก่อน #ลงพื้นที่ปฏิบัติจริงในชุมชนวัดสวัสดิ์วารีสีมาราม
ขอบคุณ
- ทีมทำงานจาก ฝ่ายกิจการนักศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มรภ.สวนสุนันทา
- ผศ.ว่าที่ร้อยตรีหญิงเพ็ญนภา ปาละปิน หัวหน้าภาคสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์-มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
- ผู้นำชุมชนและผู้ให้ข้อมูลสำคัญจากชุมชนวัดสวัสดิ์วารีสีมารามทั้ง 5 ท่าน (พี่หน่อย ป้าจิ๋ม ป้าตุ๊กตา ป้านี และป้าเล็ก)
#วิชาการเพื่อสังคม
รศ.ดร.ภูสิทธ์ ภูคำชะโนด
website: https://elfhs.ssru.ac.th/phusit_ph/