ข่าวและประกาศของเว็บ

กระบวนการพัฒนาวิศวกรสังคม [มรภ.สวนสุนันทา: มุมมองวิชาการ]

กระบวนการพัฒนาวิศวกรสังคม [มรภ.สวนสุนันทา: มุมมองวิชาการ]

โดย PHUSIT PHUKAMCHANOAD -
Number of replies: 0

#กระบวนการพัฒนาวิศวกรสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.ภูสิทธ์ ภูคำชะโนด จากประสบการณ์สอนตลอดระยะเวลา 3 ภาคเรียนการศึกษาทำให้เห็นข้อแก้ไขทั้งคำว่า วิศวกรสังคม ในมุมมองใหม่ของนักศึกษาที่เริ่มเรียนในมิติที่สัมผัสวิชาการกับคำสำคัญที่ว่า "วิศวกรสังคม" เป็น Soft Skill ซึ่งมีทักษะที่ซ่อน 4 ทักษะที่ซ่อนอยู่ในคำว่าวิศวกรสังคม ...ซึ่งนักศึกษาตั้งคำถามจากการเห็นคำว่า วิศวกรสังคม เป็น Soft Skill จริง? เพราะในคำที่ปรากฏน่าจะเป็น Hard Skill มากกว่า ...การต้องใช้เวลาในการบ่มเพาะว่า วิศวกรสังคม ให้เป็น Soft Skill เป็นระยะเวลา 3 ปี นั้นทำให้ผู้สอน ค่อย ๆ   "ปรับวิธีเรียน เปลี่ยนวิธีคิด" จนบรรลุผล คือ นักศึกษาเข้าใจในเชิงทฤษฎี แต่ขาดผลลัพธ์ที่เป็นการนำไปใช้จริง...และยังไม่เห็นความเด่นชัดหลังจากนักศึกษาก้าวออกจากรายวิชาวิศวกรสังคมไปสู่ชั้นเรียนในศาสตร์เฉพาะ...จากนี้คงเป็นอนาคตที่ต้องฉายภาพให้ชัดเจนสำหรับแนวทางการพัฒนาวิศวกรสังคมให้เกิดความยั่งยืนและให้ได้ผลอย่างแท้จริง "...จงให้นโยบายวิศวกรสังคมเป็นเครื่องมือพัฒนาสังคมภายในองค์กรที่มีเอตทัคคะ..." #หน่วยบ่มเพาะวิศวกรสังคม #ศูนย์ปฏิบัติการวิศวกรสังคม ต้องเกิดขึ้นให้ได้....เพื่อสร้างต้นแบบวิศวกรสังคมให้ได้ผลอย่างแท้จริง!

[วิศวกรสังคมในมุมองของผมได้ผ่านได้แลกเปลี่ยนผู้ทรงคุณวุฒิมาหลายท่าน ซึ่งแต่ละท่านแตกต่างกันไปตามกรอบวิธีคิดของแต่ละคนที่ได้มีความเชี่ยวชาญแต่ละศาสตร์...ทำให้มุมมองวิศวกรสังคม จึงสรุปไว้สั้นๆว่า ผู้มีภูมิความรู้จริงในศาสตร์ของตน เห็นปัญหาจริงที่คนในสังคมแล้วนำศาสตร์ที่มีไปเป็น "กลไก-เครื่องมือ" ในการช่วยเหลือ แก้ปัญหา พัฒนาให้สังคมมีความขัดแย้งน้อยที่สุด มีความสุขและสันติภาพมากที่สุด" (รองศาสตราจารย์ ดร.ภูสิทธ์ ภูคำชะโนด, 12 พค. 2567)